Sunday, August 30, 2015

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (ตอนที่ 3 เมื่อไหร่จะลาจาก Web2.0)

ต่อจากตอนที่แล้ว (และตอนนี้จะไม่ลงทางเทคนิคเท่าไหร่)

Domain Name Server (DNS) และ Uniform Resource Locator (URL)
คือกลไกในการแปลงชื่อเครื่องให้เป็น IP
ในยุคแรกมีการแบ่งชื่อ top-level domain เป็นชื่อประเทศ เช่น .th (Thailand), .us (USA), .tv(Tulalu), .fm (Federated States of Micronesia) (ทั้งสองประเทศเป็นประเทศหมู่เกาะในแปซิฟิค)  กับ 5 ชื่อได้แก่ .com, .org, .edu, .mil, และ .gov
เหตุที่ top-level แรกมี 5 ชื่อนั้นเข้าใจว่าเป็นเพราะหน่วยงานที่ใช้งานยุคแรกมีเฉพาะ .mil (ผู้ออกเงินพัฒนา) .gov (เจ้านายของ .mil) .edu (มหาวิทยาลัย ผู้พัฒนาและเป็นหน่วยงานแรกๆที่ใช้งาน the Internet) เมื่อภาคธุรกิจเห็นประโยชน์และพากันเข้าไปใน the Internet จึงแยกเป็น .com (commercial = แสวงหากำไร) และ .org (organization = ไม่แสดงหาผลกำไร) .net นั้นตามมาติดๆทีหลัง โดยเริ่มแรกเน้นองค์กรเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ the Internet (ปัจจุบันก็ยังมีภาพของการไม่แสวงหาผลกำไร โดย .org จะเน้นไปทางมูลนิธิ)
ดังนั้นไม่ว่าองค์กรใดก็ต้องเลือกว่าจะไปอยู่ใต้ top-level domain ไหน เช่น ประเทศไทยก็นำมาแบ่งเป็น .ac (academic) .co (company(?)) .go (government) ก่อนที่องค์กรใดๆจะมาจดทะเบียน
กลไกการแปลงเป็น IP นั้นจะอ่านจากขวามาซ้าย เช่น www.kmitl.ac.th นั้นระบบจะหาว่าใครมีข้อมูลของ .th ซึ่งจะรู้ว่าใครมี .ac.th ซึ่ง kmitl ไปจดทะเบียนไว้ ก็จะมาค้นหาที่เครื่อง(ตามที่) kmitl.ac.th ประกาศไว้ว่า www.kmitl.ac.th นั้น IP คืออะไร
จะได้เห็นว่าอาจเป็นกระบวนการที่ใช้เวลา (แต่ก็สะดวกว่าจำ IP ของทุกเครื่อง)
ใครๆก็อยากมีชื่อที่จำง่ายทำให้เกิดปรากฎการณ์รายชื่อบน .com นั้นยาวมากๆ ทำให้มีความพยายามจะเปิด top-level เพิ่มขึ้น อีกทั้งอนึ่งชื่อเหล่านี้สามารถซื้อขายได้ (ตัวอย่างข่าว เมื่อ ค.ศ. 2008 http://www.cnet.com/news/pizza-com-domain-name-fetches-millions/) หรือนำไปสู่การฟ้องร้องได้ (ตัวอย่างข่าว เมื่อ ค.ศ. 2000 http://www.ecommercetimes.com/story/4560.html) เพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้ชื่อหนึ่งๆมีตัวเลือก top-level มากขึ้น แต่ก็ไม่ค่อยได้รับความนิยม สาเหตุเนื่องจากประชาคม internet ไม่คุ้นเคยกับชื่อ top-level เหล่านั้น
เมื่อไม่นานมานี้มีอีกความพยายามหนึ่งจากเหตุผลว่าเพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนบนโลกมีโอกาสใช้ the Internet มากยิ่งขึ้น จึงเปิดโอกาสให้จดทะเบียนในภาษาท้องถิ่นได้ เช่น .ไทย
(รายชื่อ top-level domain name สามารถดูได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Internet_top-level_domains)
ปัญหาคือ top-level ที่เปิดใหม่นี้ต้องมี server เป็นของตนเอง และ DNS หลายตัวอาจไม่รู้จัก ทำให้เครื่องอาจหา IP ไม่เจอ ยิ่งเป็นการซ้ำเติมให้การเชิญชวนให้จดทะเบียนชื่อนอก top-level ที่มีในยุคแรกประสบปัญหามากขึ้นไปอีก

URL คือมาตรฐานในการระบุถีงทรัพยากรที่เราต้องการเรียกใช้ (จากภาพ) เราสามารถใช้อธิบายว่าทำไมข้อความในภาพถึงเทียบเท่ากับ www.asteron.hycurve.com
หากเราไม่ระบุ protocol ค่า default จะเป็น http (สาเหตุที่จะไป https:// ต้องพิมพ์เอง)
หากเราไม่ระบุ port ค่า default จะเป็น 80 (สาเหตุที่บาง URL จะมีเลขแปลกแล้วแต่ผู้ดูแล web site ปลายทาง)
หากเราไม่ระบุ path ค่า default จะเป็น home directory ที่ web server นั้นจัดไว้ให้ (กรณีนี้แปลว่าไฟล์ที่ต้องการอยู่ใน sub folder ชื่อ internet
หากเราไม่ระบุ ชื่อไฟล์ ค่า default ส่วนมากจะเป็น index.html (หากเป็นชื่ออื่นต้องระบุ)
อนึ่งให้สังเกตุว่า hycurve ไปจดทะเบียนกับ .com ไว้ และ(โดยธรรมเนียม)ถือว่า asteron เป็นหน่วยงานย่อย โดย(ธรรมเนียม)คำหลังจุดแรก (www) จะเป็นชื่อเครื่อง

http://www.seopearl.com/internet-web-technologies/module4/images/partsurl_mo_main.gif
กลไก DNS เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งเทคนิคสำหรับการแยกระบบ กล่าวคือ หาก IP สามารถเอื้อให้เจ้าของ IP เปลี่ยน hardware interface สำหรับอุปกรณ์ network ได้ DNS ก็ทำให้ผู้ดูแล server สามารถเปลี่ยน IP ได้เช่นกัน (และในทำนองคล้ายๆกัน เวลารัฐบาลจะแสดงจอเขียวๆ ก็ไปเปลี่ยน IP ปลายทางของ site นั้น (เก็บ IP ไว้ด้วยก็จบ ...ฮา))

รูปด้านล่างคือรูปแบบใหม่ๆของ URL

Source: Various



/* later edition */

https://en.wikipedia.org/wiki/Shortest_path_problem

http://cs.anu.edu.au/~Alistair.Rendell/Teaching/apac_comp3600/module4/all_pairs_shortest_paths.xhtml